ศูนย์การเรียนรู้ อบจ.เชียงราย (Discovery Center)

 

 ประวัติการก่อตั้ง

             ในสถานการณ์ปัจจุบัน การเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆที่หลากหลาย  โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็น  เพราะมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและเป็นพื้นฐานการศึกษาในระดับสูงของ เด็ก และเยาวชน แต่สถานศึกษาต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงราย  ยังขาดความพร้อมด้านบุคลากรและแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยสำหรับการศึกษาหา ความรู้ที่เน้นประสบการณ์ตรง  องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย  จึงได้มีนโยบายจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ (Discovery Center) เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้และศูนย์กลางของการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ที่หลากหลาย ให้สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก  เยาวชน  ให้ครอบคลุมทั้งการศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ตลอดจนประชาชนทั่วไป  ให้สามารถเข้ามาศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระ  โดยเนื้อหาที่จัดไว้ในศูนย์การเรียนรู้มีความเหมาะสมกับวัย และความสนใจของผู้เข้าศึกษา  ประกอบด้วยอาคารโลกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ห้องสมุด  ห้องภาพยนต์สามมิติ  โลกของเด็ก  โซนแห่งการเรียนรู้ด้วย IT ฯลฯ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

 1. เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ ที่เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ทางด้านวิชาการทั่วไป  ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเด็ก เยาวชน และประชาชนในจังหวัดเชียงราย

 2. เพื่อเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า บริการความรู้ข้อมูลในด้านวิชาการและความรู้ทั่วไปที่หลากหลาย

 3. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของเด็ก เยาวชน  และประชาชนที่ครอบคลุมทุกด้าน

 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนผลงาน  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยาวชน และประชาชน จังหวัดเชียงราย


ศูนย์การเรียนรู้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (Discovery Center)     

           ได้จัดแบ่งโซนการให้บริการออกเป็นสามส่วน คือ อาคารคลังสมอง อาคารโลกวิทยาศาสตร์ และอาคารท้องฟ้าจำลองการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ และภัยธรรมชาติ ประกอบด้วยโซนกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้

อาคารคลังสมอง

โซนประชาสัมพันธ์และจุดนัดพบ (Public Area & Meeting Point)

          ส่วนแรกสำหรับผู้ใช้บริการที่สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลต่าง ๆ ของทางศูนย์ได้ รวมทั้งเป็นมุมพักผ่อนสบาย ๆ ที่ผู้ใช้บริการสามารถพักผ่อนได้ตามอัธยาศัย

 


โซน 
Kid Station

         มุมการให้บริการสำหรับน้องๆ หนูๆ ที่เพรียบพร้อมไปด้วยหนังสือนิทานอันหลากหลาย และของเล่นนานาชนิด ที่ช่วยในการฝึกฝนและพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ได้ อาทิเช่น มุมหนังสือนิทานที่เด็กๆสามารถเพลิดเพลินไปกับโลกแห่งจินตนาการ อีกทั้งมุมของเล่นเสริมสร้างพัฒนาการที่เด็กๆจะได้รับความสนุกสนานกับเหล่า ของเล่นอันมากมาย

 


โซน 
Music Station

       มุมพักผ่อนสบายๆ ที่สามารถผ่อนคลายอารมณ์ไปกับความเพลิดเพลินผ่านทางเสียงเพลง หรือ แม้กระทั่งการรับชมภาพยนตร์ ผ่านทางเครื่องเล่นมัลติมีเดีย (iPod) ที่มีไว้บริการสำหรับผู้เข้ามาใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

 

โซน Movie Station

        ผู้ใช้บริการสามารถเข้ารับชมความบันเทิงอันหลากหลายรูปแบบ พร้อมทั้งสาระความรู้ได้ภายในห้องชมภาพยนตร์ห้องนี้ ซึ่งจะได้พบกับภาพยนตร์คุณภาพอันหลากหลายเรื่องราว ที่ถูกคัดสรรค์ไว้เพื่อผู้เข้าชมทุกเพศทุกวัยโดยห้องภาพยนตร์ถูกจัดไว้เพื่อ รองรับผู้ใช้บริการ โดยการออกแบบที่ทันสมัยและสวยงาม

 


โซนเรียนรู้ด้วยไอที 
IT Station

        ความก้าวไกลของสื่อสารสนเทศ หรือ ไอที (IT) เริ่มเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น ในด้านการศึกษาค้นคว้า การดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นในปัจจุบันนี้ ดังนั้นศูนย์ฯ จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเพื่อการให้บริการด้านอินเตอร์เน็ต (Internet) ไว้ให้บริการ รวมทั้งหนังสือการใช้โปรแกรมต่างๆ อีกมากมาย อีกทั้งห้องปฏิบัติการการอบรมผ่านทางไอบอร์ด (I-Board) ที่สามารถให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

 


โซนแห่งการเรียนรู้ 
Learning & Active Zone

        การอ่านหนังสือนับเป็นรากฐานความรู้ที่สำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นการเพิ่มความรู้แล้วยังเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ให้กับผู้อ่าน ซึ่งภายในห้องสมุดแห่งนี้ ผู้ใช้บริการสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้จากหนังสือที่หลากหลาย อีกทั้งบริการสืบค้นด้วยระบบอินเตอร์เน็ตที่สะดวกต่อผู้ใช้บริการในการค้นหา

 


โซน 
Animation Multimedia & Science Shoe (3D)

        ภายในโซนนี้ผู้ใช้บริการสามารถรับชมภาพยนตร์เสมือนจริงได้ (3D) อีกทั้งการจัดแสดงภาพยนตร์ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสารคดี อันหลากหลาย เพื่อรองรับผู้ใช้บริการกว่า 40 ที่นั่ง ที่มีไว้เพื่อรองรับการใช้บริการของผู้เข้าชมที่จะได้รับทั้งสาระและความ บันเทิงเสมือนโรงภาพยนตร์ชั้นนำ

 

  อาคารโลกวิทยาศาสตร์

 

โซนที่ 1 ท่องโลกของเรา

           มหัศจรรย์การไขปริศนาปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การค้นพบ และการเรียนรู้สภาวะการเกิดและการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ของเรา ภายในโซนนี้เราจะได้พบกับแบบจำลองต่าง ๆ อาทิเช่น แบบจำลองการเกิดแผ่นดินไหว แบบจำลองการก่อตัวของพายุหมุน แบะจำลองสภาวะการละลายของภูเขาน้ำแข็ง และแบบจำลองอีกมากมายที่จัดแสดงไว้ให้บริการสำหรับผู้เข้าชมในการเรียนรู้ และศึกษาค้นคว้า

 

โซนที่ 2 ไขปริศนาการเรียนรู้

        สนุกและเพลิดเพลินไปกับจินตนาการและการค้นพบด้วยเหตุและผล ที่ทำให้โลกทัศน์ของการเรียนรู้และการแสวงหาคำตอบอย่างมีหลักการและเหตุผล กับเหล่าของเล่นปริศนาอันน่าพิศวงที่จะถูกค้นพบคำตอบและเปิดเผยด้วยตัวเรา เอง

 

โซนที่ 3 โลกของพลังงาน

          พลังงาน เป็นปริมาณพื้นฐานอย่างหนึ่ง ของกระบวนการในระบบกายภาพทุกอย่าง พลังงานในระบบเหล่านี้ที่สภาวะหนึ่งนิยามกันว่าเท่ากับ "งาน" ที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนแปลงจากสภาวะแรกเริ่มไปยังสภาวะนั้น ๆ ตัวอย่างของพลังงานได้แก่ พลังงานไฟฟ้า พลังงานเคมี เป็นต้น ภายในโซนนี้เราจะได้พบกับสภาวะการเกิดขึ้นของพลังงานในรูปแบต่าง ๆ เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแวนเดอร์กราฟ ซึ่งเป็นเครื่องกลผลิตไฟฟ้าศักย์สูง เครื่องนี้สามารถสร้างประจุไฟฟ้าจากการเสียดสี โดยประจุไฟฟ้าจะกระจายออกมาสู่ผิวนอกทรงกลม

 

  โซนที่ 4 พลังงานทดแทน

            พลังงานทดแทนแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ พลังงานสิ้นเปลือง และพลังงานหมุนเวียนหรือที่เรียกกันว่า "พลังงานทดแทน" ในการศึกษาวิจัยพลังงานทดแทนถือเป็นการค้นคว้าพัฒนาตลอดจนการส่งเสริม และเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดและไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล เป็นต้น ทั้งนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าให้ได้มาซึ่งพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ภายในโซนพลังงานทดแทนนี้เราจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งที่มาของพลังงานสะอาดต่างๆ

 

  โซนที่ 5 เทคโนโลยีวิทยาศาสตร์

               วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ การคิดค้นและผสมผสานทางองค์ความรู้ ซึ่งผนวกกับกระบวนการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ควบคู่ไป พร้อมกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เหมาะสมกับการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันอันก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ที่ทัน สมัยและหลากหลายในโลกของเทคโนโลยี

 อาคารท้องฟ้าจำลองการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ และภัยธรรมชาติ

 

แนวคิด

        ปัจจุบัน การเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ และภัยธรรมชาติ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย จึงได้มีนโยบายจัดตั้งอาคารท้องฟ้าจำลองการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ และภัยธรรมชาติขึ้น ภายในศูนย์การเรียนรู้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย (Discovery Center) เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ และค้นคว้าข้อมูล เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน และประชาชน ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย ให้สามารถเข้ามาศึกษาค้นคว้าได้อย่างอิสระ และช่วยสนับสนุนในการพัฒนาทักษะพื้นฐานการเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง

 

วัตถุประสงค์

1.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ที่เพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ทางด้านดาราศาสตร์ ของเด็ก เยาวชน ประชาชนในจังหวัดเชียงราย

2.เพื่อแหล่งศึกษา ค้นคว้า บริการความรู้ ข้อมูลพื้นฐานในด้านดาราศาสตร์

3.เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพ ของเด็ก   เยาวชน และประชาชนทั่วไป

 

 ฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กลางแจ้ง

 



ชุดไฮเปอร์โบลา

            เกิด ขึ้นจาการตัดกรวยกลมตรงด้วยระนาบที่ขนานกับแกนของกรวยและตัดทั้งสองกรวย แท่งโลหะที่เป็นเส้นตรงสามารถเคลื่อนผ่านช่องที่เจาะไว้เป็นรูปไฮเปอร์โบลา ได้เนื่องจากแท่งโลหะและช่องที่เจาะไว้ สัมพันธ์กันด้วยสมการทางคณิตศาสตร์โดยที่แทนค่า X และ Y  ใน สมการเส้นตรงลงในสมการไฮเปอร์โบลา (ที่เตรียมไว้) จะได้ค่าออกมาอยู่ตำแหน่งเดียวกันพอดี ทำให้แท่งโลหะสามารถลอดผ่านช่องรูปไฮเปอร์โบลา

 

ชุดแสดงการเดินวัดส่วนสูง

              การวัดส่วนสูง ใช้หลักการสะท้อนของแสง เมื่อเรามองเห็นแถบสีในกระจกการสะท้อนแสงจากแถบสีจะสะท้อนเข้าสู่ตา ทั้งนี้ความสูงที่ได้จะเป็นความสูงจากพื้นถึงตาผู้มองจะต้องบวกกับระยะจากตา ถึงศรีษะของผู้ยืนด้วยจึงจะเป็นความสูงของผู้วัด

 



การเปลี่ยนพลังงานศักย์เป็นพลังงานจลน์ของลูกโลหะ

            เมื่อ ลูกกลมโลหะเคลื่อนที่ขึ้นไปเรื่อยๆ จะมีพลังงานชนิดหนึ่งสะสมเพิ่มขึ้นตามเรียกว่าพลังงานศักย์ พลังงานศักย์จะมีค่ามากที่สุดเมื่อลูกกลมโลหะอยู่ในตำแหน่งที่สูงสุด เมื่อลูกกลมโลหะเริ่มเคลื่อนที่ตกลงมาพลังงานศักย์จะลดลง ค่าที่ลดลงจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงานจลน์ที่เพิ่มขึ้นทุกๆตำแหน่งของการเคลื่อน ที่โดยพลังงานจลน์มีค่ามากที่สุดเมื่อลูกกลมโลหะเคลื่อนที่ลงมาอยู่ใน ตำแหน่งล่างสุด



ชุดแสดงความสัมพันธ์ของแขนและขา

            เป็น อุปกรณ์สำหรับเสริมและฝึกทักษะในการเคลื่อนไหวมือและขาให้สัมพันธ์กัน เพื่อฝึกสมรรถภาพทางกายทั่วไป และฝึกสมองให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไปด้วยกัน

 


 ชุดแสดงการเดินทางของเสียงในท่อ

              เสียงอยู่ ในรูปของคลื่นเรียกว่าคลื่นเสียง คลื่นเสียงเกิดจาการสั่นของวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดผ่านตัวกลางโดยการถ่าย โอนพลังงานของการสั่นให้อนุภาคของตัวกลางต่อๆกันไป

 

 

ชุดแสดงการถ่ายโอนพลังงานของวัตถุที่มีความถี่ธรรมชาติเดียวกัน          

          วัตถุ ต่างๆเมื่อถูกทำสั่นหรือแกว่งแล้วปล่อยให้สั่นหรือแกว่งต่อไปอย่างอิสระมัน จะสั่นหรือแกว่งด้วยความถี่ค่าหนึ่ง ความถี่ในการแกว่งหรือสั่นย่างอิสระนี้เรียกว่า ความถี่ธรรมชาติ (Natural Frequency) ของ วัตถุนั้นๆ วัตถุต่างๆจะมีความถี่ธรรมชาติเฉพาะตัวทั้งสิ้น ความถี่ธรรมชาติระบบหนึ่งอาจมีเพียงค่าเดียวหรืออาจมีได้หลายๆค่าทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของระบบ และลักษณะการสั่น

             ในที่นี้ก็คือเมื่อทำให้ชิงช้าตัวใดตัวหนึ่งแกว่งด้วยความถี่การแกว่งค่า หนึ่งจะทำให้เกิดพลังงานที่ได้จากการแกว่งขึ้น โดยพลังงานนี้จะถูกถ่ายโอนไปยังคานที่ชิงช้ายึดติดอยู่ทำให้คานเกิดการสั่น ด้วยความถี่เดียวกันกับชิงช้าตัวที่แกว่ง เมื่อคานเกิดการสั่นก็จะถ่ายโอนพลังงานไปยังชิงช้าอีกตัวหนึ่งให้สั่นตาม ด้วยความถี่เดียวกัน

 

 

นาฬิกาแดดแบบอีควอเทอเรียล

              นาฬิการแดดแบบนี้มีส่วนประกอบสำคัญคือ แถบบอกเวลา(Dial Plate) เป็นรูปครึ่งวงกลมแบ่งช่องบอกเวลาขนาดเท่าๆกันและแกนสร้างเงา(Gnomon) อยู่ที่ตำแหน่งจุดศูนย์กลางและตั้งฉากกับแถบบอกเวลา นาฬิกาแดดแบบนี้ต้องติดตั้งให้แถบบอกเวลาอยู่ในแนวตะวันออกและตะวันตกปลาย ของแกนสร้างเงาชี้ไปที่ขั้วฟ้าเหนือ กล่าวคือ ให้แกนสร้างเงาขนาบกับแกนหมุนของโลก

 

 

ลูกโลกหน้านักวิทยาศาสตร์

               การ ที่มองเห็นเป็นรูปใบหน้าของผู้ชายทั้งๆที่ส่วนที่วาดขึ้นมาเป็นเพียงส่วนที่ เป็นเงาและเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยมอยู่ในรูปเลย ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นเหตุมาจากการที่สมองประมวลผลโดยพยายามคาดเดาส่วนที่ ขาดหายไปบางส่วน โดยใช้ประสบการณ์ที่เคบพบเห็นมาเช่นเดียวกับสิ่งแสดงลูกโลกที่มีทวีปต่างๆ เมื่อยืนอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดให้ก็มองเห็นเป็นรูปนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง

 

 

จานกระซิบ

            ประกอบด้วยจานโค้งรูปพาราโบลาขนาดใหญ่ 2 อันวางหันด้านหน้าเข้าหากันโดยมีระยะห่างกันจนไม่สามารถพูดกันได้ยิน เมื่อเราพูด คลื่นเสียงจะเดินทางจากจุดโฟกัสและสะท้อนผิวของจาน แล้วสะท้อนออกไปยังพื้นผิวของจานอีกใบที่อยู่ด้านตรงข้าม หลังจากนั้นจึงสะท้อนไปยังจุดโฟกัส ทำให้ผูที่อยู่อีกฝั่งหนึ่งได้ยินเสียงพูดอย่างชัดเจน

 

 

ทรงกลมท้องฟ้า

                   คน สมัยโบราณเชื่อว่าดวงดาวทั้งหมดบนท้องฟ้าอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางเท่าๆกัน โดยดวงดาวเหล่านั้นถูกตรึงอยู่บนผิวของทรงขนาดใหญ่เรียกว่า ทรงกลมท้องฟ้า (Celestial Sphere) โดยมีโลกอยู่ที่ศูนย์กลางของทรงกลม ทรงกลมท้องฟ้าหมุนรอบโลกจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก โดยที่โลกหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหว

 

            นักปราชญ์ในยุคต่อมาทำการศึกษาดาราศาสตร์กันมากขึ้นจึงพบว่า ดวงดาวบนท้องฟ้าอยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางที่แตกต่างกันกลางวันและกลางคืน เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก มิใช่การหมุนของทรงกลมท้องฟ้าดังที่เคยเชื่อกันในอดีต อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนักดาราศาสตร์ยังคงใช้ทรงกลมท้องฟ้าเป็นเครื่องมือใน การระบุตำแหน่งทางดาราศาสตร์ ทั้งนี้เป็นเพราะหากเราจินตนาการให้โลกเป็นศูนย์กลางโดยมีทรงกลมท้องฟ้า เคลื่อนที่หมุนรอบ จะทำให้ง่ายต่อการระบุพิกัด หรือเปรียบเทียบตำแหน่งของวัตถุบนื้องฟ้าและสังเกตุการเคลื่อนที่ของวัตถุ เหล่านั้นได้ง่ายขึ้น


ชุดแสดงการเดินชั่งน้ำหนัก

            เครื่องชั่งน้ำหนักชนิดนี้ใช้หลักการของคานและโมเม้นต์ เมื่อขึ้นไปยืนแล้วแท่งไม้สมดุลจะเป็นไปตามหลักการของคานและโมเม้นต์ คือ โมเม้นต์ทวน=โมเม้นต์ตาม

 

 

ชุดรอกแบบต่างๆ

            รอก (Pulley) เป็นเครื่องกลที่ใช้สำหรับยกของขึ้นที่สูง หรือหย่อนลงต่ำมีลักษณะเป็นล้อหมุนคล่องรอบตัวและมีเชือกพาดล้อสำหรับยกวัตถุ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ รอกเดียว และรอกพวง

 

 

ชุดคานและโมเมนต์

             โมเมนท์และคาน คือ ระยะทางจากวัตถุถึงจุกหมุนคูณด้วยน้ำหนักของวัตถุ มีหน่วยเป็นนิวตันเมตร (N*M) โดยโมเมนต์ของคานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1.      โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา

  2.      โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา



ชุดแสดงการลอยตัวของวัตถุด้วยแรงดันน้ำ

            หินกลิ้ง มีลักษณะเป็นก้อนหินรูปทรงกลมวางอยู่บนฐานรองหินลักษณะเว้าคล้ายอ่าง มีน้ำพุ่งขึ้น มาตามท่อที่อยู่ใต้ฐานรองหิน การที่ลูกหินสามารถลอยอยู่ในน้ำได้เนื่องจากแรงดันของน้ำที่พุ่งออกจากท่อมี ค่าเท่ากับน้ำหนักของลูกหินจากทฤษฎีของปาสคาลที่ว่า “ความดันที่ให้กับของเหลวหรือก๊าซที่อยู่นิ่งจะถูกแพร่ออกไปเท่ากันทุกทิศทาง”

  

 

 

ชุดแสดงการสะท้อนของเสียงที่จุดโฟกัสด้วยจานพาราโบรา

            (Parabola) เป็นภาคตัดกรวยที่เกิดจากการตัดกันระหว่างพื้นผิวกรวยด้วยระนาบที่ขนานกับเส้นกำเนิดกรวย (Generating Line) ของพื้นผิวนั้น พาราโบลาสามารถกำหนดด้วยจุดต่างๆที่มีระยะห่างจากจุดกำหนด คือ เส้นไดเรกตริกซ์ (Directix)

            ดังนั้นจานพาราโบลา จึงสามารถรับเสียงที่อยู่ในระยะไกลๆได้เพราะเสียงที่อยู่ในระยะไกลๆนั้น เสมือนหนึ่งว่าเป็นรังสีขนานที่เดินทางมากระทบกับผิวจานพาราโบลา เสียงดังกล่าวจึงรวมกันอยู่ที่จุดโฟกัสทำให้เราได้ยินเสียงที่อยู่ในระยะไกล ได้

          ติดต่อสอบถาม : โทรศัพท์ 053-751148 
                                 อีเมลล์ : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.